โครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.)
โดยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
.............................

1.  หลักการและเหตุผล

                        จากสภาวะภูมิอากาศของโลกในปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงไม่เป็นปกติเกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น  ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในมหาสมุทร และขนาดของแผ่นน้ำแข็ง  ในขั้วโลก  ก่อให้เกิดภัยพิบัติขึ้น  ได้แก่  ความร้อน  ความแห้งแล้ง ฝนตก น้ำท่วม เกิดพายุหิมะ           ความหนาวเย็น  เกิดพายุทราย ดินถล่ม  ฤดูกาลเปลี่ยนแปลง  สร้างความเดือดร้อนแก่มวลมนุษย์ชาติ  โดยทั่วกัน ต้นเหตุของสถานการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นมาจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของมนุษย์นั้นเอง

                        สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระองค์ท่านทรงมีความห่วงใยและให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้  พระองค์ท่านทรงให้ชาวบ้านในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลป้องกันรักษาป่า ทรงพระราชทานธง “พิทักษ์ป่า   เพื่อรักษาชีวิต”  ให้แก่หมู่บ้านที่เข้าร่วมตามโครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.)  ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานทรงงานส่วนพระองค์ในแต่ละภาคเป็นประจำทุกปี  เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ แก่หมู่บ้านที่ร่วมมือในการดูแลรักษาป่าตลอดมา

                        กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ    พันธุ์พืช  ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ได้โน้มนำแนวทางของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระนางสิริกิติ์  ในการดูแลรักษาป้องกันการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า เพื่อให้มีราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลป้องกันรักษาป่า สำนักบริหารพื้นที่พื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา) จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ขึ้น  จำนวน 1 รุ่น  โดยมีเป้าหมายพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ในท้องที่อำเภอรัตภูมิ  อำเภอหาดใหญ่  และอำเภอสะเดา  จำนวน 100 คน  จากราษฎรโดยรอบพื้นที่   เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง 

2. วัตถุประสงค์

                        2.1  เพื่อสนองพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
                        2.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการคุ้มครองดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในท้องถิ่นตนเอง (ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550)

                       2.3 สร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์และบทบาทของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
                        2.4  ส่งเสริมให้ชุมชนจัดการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมตามแนวทางชุมชนเข้มแข็ง

3.  เป้าหมาย

                        ราษฎรที่อยู่ในและใกล้พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง คัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) จำนวน 1 รุ่น ๆ ละ 100 คน จากพื้นที่ตำบลเขาพระ  อำเภอรัตภูมิ  ตำบลฉลุง  และตำบลทุ่งตำเสา  อำเภอหาดใหญ่  ตำบลปาดังเบซาร์  อำเภอสะเดา  จังหวัดสงขลา

4.  ระยะเวลาดำเนินการ

                        วันที่ 11 – 14  เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2553  ใช้เวลาทำการฝึกอบรม  4  วันทำการ

5.  คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

                        การคัดเลือกตัวบุคคลเข้าทำการฝึกอบรมตามโครงการเพื่อจะได้จัดตั้งองค์กร รสทป.   ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นราษฎรในพื้นที่เป้าหมายรอบเขตป่าอนุรักษ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง 
                            อายุตั้งแต่  18  ปีขึ้นไป  - 70 ปี
                        2. สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคประจำตัว   
                        3. มีความประพฤติเรียบร้อย ประกอบอาชีพสุจริต ไม่ติดยาเสพติด    
                        4. มีความสมัครใจและเพื่อที่สละเวลาเข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้อ่านออกเขียนได้
                        5. มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

 

6.  หลักสูตรการฝึกอบรม  ประกอบด้วย   (รายละเอียดตามภาคผนวก ก)
                        1.  ภาคทฤษฎี
                        2.  ภาคปฏิบัติ
                        3.  ภาคนันทนาการและกิจกรรม
                        รายละเอียดตามภาคผนวก ก
                       

7.  งบประมาณ
                        จากงบงานอนุรักษ์ป่า กิจกรรมงานคุ้มครองพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 1 รุ่น ๆ ละ 100 คน เป็นเงิน 150,000.-บาท   (เงินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

                                                                              

รายละเอียดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
                        1. ค่าตอบแทน
                           - ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน 25 ชั่วโมง ๆ ละ  600 บาท/ชั่วโมง        = 15,000 บาท
                           - ค่ายานพาหนะ  (ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)                             = 10,000 บาท
                        2. ค่าจ้างเหมาบริการ
                           - ค่าอาหาร สำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมและเจ้าหน้าที่  จำนวน 120  คน  4  วัน      
                             จำนวน 3  มื้อ ๆ ละ 50 บาท                                                         = 72,000 บาท
                           - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คน  4 วัน  จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท
                                                                                                                              = 24,000 บาท
                           - ค่าเช่าอุปกรณ์ในการฝึกอบรม                                                        =   6,000 บาท
                           - ค่าจ้างเหมารับ – ส่ง ผู้เข้ารับการฝึกอบรม                                       =   5,000 บาท
                        3. ค่าวัสดุ
                           - ค่าวัสดุสำนักงานใช้ในการฝึกอบรม                                                = 10,000 บาท
                           - ค่าวัสดุโฆษณาและเผยแพร่ (ป้ายผ้าและป้ายโครงการประชาสัมพันธ์)= 5,000 บาท
                        4. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
                           - ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด – ปิด                                                              = 3,000 บาท
                                                                     รวมเป็นเงินทั้งสิ้น                 =150,000 บาท

8.  สถานที่ฝึกอบรม

                        เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง  ตำบลฉลุง  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

 

9.  หน่วยงานที่รับผิดชอบ
                        ส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6

10. หน่วยงานที่สนับสนุน
                        1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง
                        2. หน่วยงานในสังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 ท้องที่จังหวัดสงขลา
                        3. คณะครูฝึกหน่วยงาน  ตชด. หรือคณะครูฝึกหน่วยงานทหาร ท้องที่จังหวัดสงขลา
                       
11. ผลสัมฤทธิ์

                     11.1  เป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
                     11.2  องค์กร รสทป. ที่ดูแลรักษาป่ามีความเข้มแข็งในการทำงานยิ่งขึ้น
                     11.3  เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย รสทป. ในแต่ละพื้นที่ให้มีการประสานการปฏิบัติงาน
                                    ร่วมกันอย่างรูปธรรม
                     11.4  ประชาชนระดับหมู่บ้านเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ในการคุ้มครองดูแลรักษาและ
                                    จัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

    1. รักษาทรัพยากรธรรมชาติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรป่าไม้ ให้เป็นทุนทางสังคมที่สำคัญของประเทศยั่งยืนตลอดไป
    2. ลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐของเจ้าเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาป่าอีกทางหนึ่ง
    3. ตรงตามวัตถุประสงค์ของนโยบายรัฐบาล ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ 

ป้องกันรักษาป่า

 

                                                      (ลงชื่อ).....พศวัต  สุวรรณกมลาศ  ...ผู้เขียนโครงการ
                                                                     (นายพศวัต  สุวรรณกมลาศ)
                                                                       เจ้าพนักงานป่าไม้ อาวุโส

                                                      (ลงชื่อ)......นายประทักษ์  กมลรัตน์..ผู้เห็นชอบโครงการ
                                                                     (นายประทักษ์  กมลรัตน์)
                                                         ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร

                                                      (ลงชื่อ)......................................ผู้อนุมัติโครงการ
 

 

 

ภาคผนวก ก

หลักสูตรการฝึกอบรม

                   ภาคทฤษฎี
                        1.   การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
                        2.   ระเบียบและกฎหมายป่าไม้ที่เกี่ยวข้อง
                        3.   สถานการณ์ด้านป่าไม้ในพื้นที่
                        4.   สภาวะโลกร้อนกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
                        5.   เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
                        6.   การป้องกันไฟป่า
                        7.   ความมั่นคงของชาติกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
                        8.   มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
                        9.   ยาเสพติด
                        10. บทบาทหน้าที่และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่น
                       
                                                                                                ภาคปฏิบัติ / นันทนาการ และกิจกรรม
                        1.  สร้างอุดมการณ์  จิตสำนึก
                        2.  การบริหารร่างกาย
                        3.  กิจกรรมสัมพันธ์  นันทนาการ