วงจรชีวิตผีเสื้อในป่าฮาลา-บาลา

ผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพ

 

< BACK  /  NEXT >

***กดปุ่มบนรูปภาพหน้าต่างรูปภาพนั้นๆ จะถูกขยายใหญ่และปรากฎขึ้น โดยสามารถกดปุ่ม NEXT หรือ BACK ในการเปิดหน้าต่างในแต่ละชนิดของวงจรชีวิตผีเสื้อ***

 

ผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพ

ชื่อสามัญ The Common Rose

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pachliopta aristolochiae asteri

วงศ์ PAPILIONIDAE

ขนาด (wingspan ) 65 – 85 มม.

  ทั้งสองเพศคล้ายกัน อกและท้องมีสีแดงอมชมพู ขอบปีกด้านข้างของปีกคู่หลังยื่นยาว ปีกบน พื้นปีกสีดำปีกคู่หน้ามีเงาสีขาวจางๆ เรียงเป็นแถบๆสลับกับสีดำของพื้นปีกเรียงกันตามแนวของลำตัว กลางปีกคู่หลังมีแถบสีขาวตามช่องเส้นปีก แถบที่อยู่ใกล้ขอบปีกด้านในมีสีขาวอมชมพู มีจุดแต้ม สีชมพูเรียงกันตามแนวขอบปีกด้านข้าง ปีกล่าง คล้ายปีกมน

ลักษณะของหนอนผีเสื้อ ลำตัวเป็นปล้องๆ มีสีดำ หนามมีสีแดงกระจายอยู่บนลำตัว บริเวณกลางลำตัวมีแถบและหนามสีขาว 1 แถบพาดขวางลำตัว

ลักษณะของดักแด้ ใช้ใยยึดส่วนท้ายของลำตัวติดกับพืชและอีกเส้นหนึ่งคล้องรอบลำตัว ระยะดักแด้ 16 วัน

สภาพแหล่งที่อยู่อาศัย ป่าโปร่ง ลำธาร

พืชอาหาร กระเช้าผีมด ( Aristolochia tagala ) และ หูหมี ( Thottea parviflora)

 

© สงวนลิขสิทธิ์ โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ท ี่6

ส่วนโครงการพระราชดำริและความมั่นคง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

นายโกวิทย์ หวังทวีทรัพย์ นักวิชากาป่ไม้ 7 ว  ผู้จัดทำเวบไซด์

ปรับปรุงวันที่ 15 ตุลาคม 2551