วงจรชีวิตผีเสื้อในป่าฮาลา-บาลา

ผีเสื้อแพนซีมยุรา

 

< BACK  /  NEXT >

***กดปุ่มบนรูปภาพหน้าต่างรูปภาพนั้นๆ จะถูกขยายใหญ่และปรากฎขึ้น โดยสามารถกดปุ่ม NEXT หรือ BACK ในการเปิดหน้าต่างในแต่ละชนิดของวงจรชีวิตผีเสื้อ***

 

ผีเสื้อแพนซีมยุรา

ชื่อสามัญ The Peacock Pansy

ชื่อวิทยาศาสตร์ Junonia almana javana

วงศ์ NYMPHALIDAE

ขนาด (wingspan ) 40 – 55 มม.

  ปีกบน พื้นปีกสีส้ม มีจุดวงกลมที่ปีกคู่หน้า 1 จุด ปีกคู่หลัง 2 จุด จุดที่อยู่ทางด้านมุมปลายปีกหลังมีขนาดเล็กกว่า ในบางฤดูจุดนี้อาจมองไม่เห็นไม่ชัด ขอบปีกด้านนอกของปีกคู่หน้ามีแถบสีน้ำตาลเข้ม 4 แถบ ขอบปีกด้านข้างมีเส้นสีน้ำตาลเข้ม ปีกล่าง คล้ายปีกบนแต่สีอ่อนกว่า และเห็นลวดลายจางๆ

ลักษณะของหนอนผีเสื้อ หนอนระยะแรก ลำตัวสีดำ และหนามเป็นแฉกเล็กๆ สีน้ำตาลดำ เรียงเป็นวงรอบลำตัว หนอนระยะถัดไป มีจุดและแถบสีขาวพาดขวางสลับกับสีดำของลำตัว หนามแตกเป็นแฉกเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อน

ลักษณะของดักแด้ ใช้ใยยึดส่วนท้ายของลำตัวติดกับพืชแล้วห้อยหัวลงมาคล้ายตุ้มหูระยะดักแด้ 7 วัน

สภาพแหล่งที่อยู่อาศัย ชุมชน พุ่มไม้ ป่าโปร่ง ป่าไผ่ ลำธาร

พืชอาหาร ต้อยติ่ง ( Ruellia tuberose ) Acanthaceae sp.1 และ Acanthaceae sp.2

 

 

© สงวนลิขสิทธิ์ โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ท ี่6

ส่วนโครงการพระราชดำริและความมั่นคง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

นายโกวิทย์ หวังทวีทรัพย์ นักวิชากาป่ไม้ 7 ว  ผู้จัดทำเวบไซด์

ปรับปรุงวันที่ 16 ตุลาคม 2551