วงจรชีวิตผีเสื้อในป่าฮาลา-บาลา

ผีเสื้อจรกาเมียลาย

 

< BACK  /  NEXT >

***กดปุ่มบนรูปภาพหน้าต่างรูปภาพนั้นๆ จะถูกขยายใหญ่และปรากฎขึ้น โดยสามารถกดปุ่ม NEXT หรือ BACK ในการเปิดหน้าต่างในแต่ละชนิดของวงจรชีวิตผีเสื้อ***

 

ผีเสื้อจรกาเมียลาย

ชื่อสามัญ The Striped Blue Crow

ชื่อวิทยาศาสตร์ Euploea mulciber mulciber

วงศ์ NYMPHALIDAE

ขนาด (wingspan ) 80 – 90 มม.

  ปีกบน พื้นปีกสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ปีกคู่หน้าของเพศผู้มีสีเหลือบน้ำเงิน และมีจุดสีขาวประปราย ปีกคู่หลังไม่มีจุดขาว เพศเมียปีกคู่หน้ามีสีเหลือบน้ำเงินจางๆ และมีจุดสีขาวขนาดใหญ่กว่าจุดสีขาวของเพศผู้ ปีกคู่หลังมีแถบสีขาวในช่องระหว่างเส้นปีก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ” เมียลาย” ดูคล้ายผีเสื้อในกลุ่มหนอนใบรัก ปีกล่าง คล้ายปีกบนแต่ไม่มีสีเหลือบน้ำเงิน

ลักษณะของหนอนผีเสื้อ ลำตัว เป็นปล้องๆ รูปทรงกระบอก ลำตัวสีแดง หัวสีดำ มีแถบสีขาวพาดขวางลำตัวสลับกับสีแดงของลำตัว มีหนามสีแดงปลายหนามสีดำ มีหนามที่หัว 3 คู่ และท้าย 1 คู่

ลักษณะของดักแด้ ใช้ใยยึดส่วนท้ายของลำตัวติดกับพืชแล้วห้อยหัวลงมาคล้ายตุ้มหู ระยะดักแด้ 8 วัน

สภาพแหล่งที่อยู่อาศัย ทุ่งหญ้า ป่าไผ่ ป่าโปร่ง

พืชอาหาร Apocynaceae sp.1 และ Apocynaceae sp.2

 

 

© สงวนลิขสิทธิ์ โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ท ี่6

ส่วนโครงการพระราชดำริและความมั่นคง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

นายโกวิทย์ หวังทวีทรัพย์ นักวิชากาป่ไม้ 7 ว  ผู้จัดทำเวบไซด์

ปรับปรุงวันที่ 20 ตุลาคม 2551