วงจรชีวิตผีเสื้อในป่าฮาลา-บาลา

ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา

 

< BACK  /  NEXT >

***กดปุ่มบนรูปภาพหน้าต่างรูปภาพนั้นๆ จะถูกขยายใหญ่และปรากฎขึ้น โดยสามารถกดปุ่ม NEXT หรือ BACK ในการเปิดหน้าต่างในแต่ละชนิดของวงจรชีวิตผีเสื้อ***

 

ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา

ชื่อสามัญ The Lemon Emigrant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Catopsilia pomona pomona

วงศ์ PIERIDAE

ขนาด (wingspan ) 50 – 70 มม.

ปีกบน เพศผู้มีพื้นปีกสีเขียวอ่อน ปีกคู่หน้ามีสีน้ำตาลที่มุมปลายปีกหน้า เพศเมียมีพื้นปีก สีขาว โคนปีกสีเหลือง ขอบปีกด้านนอก และด้านข้างสีน้ำตาล ปีกล่าง เพศผู้คล้ายปีกบนแต่ไม่มีลวดลาย เพศเมียเห็นลวดลายของปีกบนจางๆ โคนปีกหลัง มีสีเหลือง ไม่มีลวดลาย

ลักษณะของหนอนผีเสื้อ ลำตัว เป็นปล้องๆ รูปทรงกระบอก หัวและลำตัวสีเขียวอมเหลือง มีจุดสีดำเล็กๆ แทรกกระจายบนลำตัว ด้านข้างมีแถบสีขาวและสีดำอย่างละ 1 เส้นพาดตามยาวของลำตัว จาก หัวถึงท้ายทั้งสองด้าน

ลักษณะของดักแด้ ใช้ใยยึดส่วนท้ายของลำตัวติดกับพืชและอีกเส้นหนึ่งคล้องรอบลำตัว ระยะดักแด้ 6 วัน

สภาพแหล่งที่อยู่อาศัย ชุมชน ทุ่งหญ้า ป่าโปร่ง ลำธาร

พืชอาหาร ขี้เหล็ก ( Senna siamea ) ขี้เหล็กเลือด ( Cassia timoriensis) และ ชุมเห็ดเทศ ( Senna alata )

 

 

© สงวนลิขสิทธิ์ โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ท ี่6

ส่วนโครงการพระราชดำริและความมั่นคง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

นายโกวิทย์ หวังทวีทรัพย์ นักวิชากาป่ไม้ 7 ว  ผู้จัดทำเวบไซด์

ปรับปรุงวันที่ 21 ตุลาคม 2551