กลุ่มงานวิชาการ  
 
หน้าที่ความรับผิดชอบ
การแบ่งงาน
หน่วยงานในสังกัด
ฐานข้อมูลห้องสมุด
ฐานข้อมูลงานวิจัย
ผลงานทางวิชาการ
 
   

    ชื่อสามัญ : ใบไม้สีทอง

    ชื่ออื่น : ย่านดาโอ๊ะ (นราธิวาส)

    ชื่อพฤกษศาสตร์ : Bauhinia aureifolia K. & S.S.Larsen

    ชื่อวงศ์ : Leguminosae-Caesalpinioideae

     
  ลักษณะทั่วไป
     
          ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะม้วนงอ เลื้อยขึ้นไปปกคลุมตามเรือนยอดของไม้ใหญ่
     
          ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปเกือบกลม ปลายใบหยักเว้าเป็นแฉกลึก ๒ แฉก โคนใบเว้าหยักคล้ายรูปหัวใจ ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง หรือขนสีทองแดงเป็นมันคล้ายเส้นไหมปกคลุมหนาแน่น

          ดอกมีกลิ่นหอม ออกบนช่อแตกแขนงสั้นๆ ตามปลายกิ่ง กลีบดอก ๕ กลีบ รูปใบพาย สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีนวล

          ผล เป็นฝักแบนยาวคล้ายดาบ เมื่อแก่จะแตกออก มี ๖-๘ เมล็ด

     
  เขตการกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด
     
 
          พบเฉพาะในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา ขึ้นตามที่โล่งริมลำธารในป่าดิบชื้น อุทยานแห่งชาติน้ำตกบาโจ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ระดับความสูง ๕๐-๒๐๐ เมตร ออกดอกและผลเดือนสิงหาคม-ธันวาคม
     
  สถานภาพ
     
 
         พืชถิ่นเดียว และพืชหายากในสถาพธรรมชาติ ปัจจุบันนำมาขยายพันธุ์และปลูกเป็นไม้ประดับบ้าง แต่ยังไม่แพร่หลาย
     
  ที่มา
     

                  กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ๒๕๔๘. พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย. โรงพิมพ์การศาสนา, กรุงเทพฯ.

                  เต็ม สมิตินันท์. ๒๕๔๔. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. บริษัทประชาชน จำกัด.