กลุ่มงานวิชาการ  
 
หน้าที่ความรับผิดชอบ
การแบ่งงาน
หน่วยงานในสังกัด
ฐานข้อมูลห้องสมุด
ฐานข้อมูลงานวิจัย
ผลงานทางวิชาการ
 
     
     
  ประวัติความเป็นมา
     

             สวนรุกขชาติถ้ำเขานุ้ย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2528 โดยกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โดยมีสำนักงานป่าไม้เขตสงขลา รับผิดชอบดำเนินการ

มีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งที่สำคัญ 2 ประการ คือ

              1. เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ประจำท้องถิ่นที่มีค่าหายาก และกำลังจะสูญพันธุ์

              2. เพื่อให้เป็นพื้นที่เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ในปี พ.ศ. 2546 ได้มีพระราชกฤษฎีกา

              แบ่งส่วนราชการใหม่ สวนรุกขชาติถ้ำเขานุ้ย จึงได้โอนมาสังกัดสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้

้              และพันธุ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

              จนถึงปัจจุบัน โดยมีกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา) ควบคุมและกำกับดูแล

     
  ที่ตั้งและขอบเขต
     

                สวนรุกขชาติถ้ำเขานุ้ย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่พรุ ป่าเทือกเขาไฟไหม้และ

ป่าคลองกั่ว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง ท้องที่หมู่ที่ 10 ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลา

มีเนื้อที่ 54-1-48 ไร่ตั้งอยู่ริมถนนยนตรการกำธร หรือทางหลวงหมายเลข 406 ช่วงอำเภอรัตภูมิ – จังหวัดสตูล

ห่างจากที่ว่าการอำเภอรัตภูมิประมาณ 21 กิโลเมตร

 

แผนที่แสดงแนวเขตสวนรุกขชาติถ้ำเขานุ้ย มาตราส่วน 1 : 50,000 ระวาง 50224 ชุด L 7017

พิกัดที่ตั้งสำนักงาน 0626378 E 0772570 N

 

     
  แหล่งท่องเที่ยว
     

              ถ้ำเขานุ้ย

               ถ้ำแห่งนี้อยู่ในภูเขาซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ถ้ำเขานุ้ย"

ภายในถ้ำ เป็นทางน้ำไหลผ่านพาตะกอนมาทับถมถ้ำทุกปี  และมี

ีหลายคูหาเป็นอุโมงค์ยาวประมาณ 30 เมตร มีหลืบ หินงอก หินย้อย

ซึ่งเกิดจากหินปูนละลายลงมาจับตัวอยู่ แต่เนื่องจากหินเป็นโครงสร้าง

ของเขาหินปูนซึ่งกำลังผุกร่อนละลาย จึงอาจเป็นไปได้ว่าจะมีช่องว่าง

เหนือเพดานถ้ำ ประกอบกับภูเขาแห่งนี้เคยผ่านการระเบิดหินมาก่อน

ทำให้หินร้าวโดยทั่วตามปกติชาวบ้านมักเข้าไปหามูลค้างคาวไปทำปุ๋ย

และถ้ำแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นที่หลบซ่อนของโจร

 

              ย่านสะบ้า

             น้ำตกบริพัตร
             เป็นน้ำตกซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสวนรุกขชาติถ้ำเขานุ้ย
 
     
  ลักษณะภูมิประเทศ
     

               สภาพพื้นที่ของสวนรุกขชาติถ้ำเขานุ้ยมีลักษณะเป็นที่ราบ ดินเป็นดินร่วนปนทราย มีเขาหินปูนขนาดเล็ก

ภายในมีลักษณะเป็นถ้ำเรียกว่า “ถ้ำเขานุ้ย” พื้นที่แบ่งเป็นแปลงย่อย 2 แปลง โดยมีถนนยนตรการกำธรตัดผ่านกลาง 

แปลงที่ 1 มีเนื้อที่ 37-0-46 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ มีพันธุ์ไม้ที่เดิมที่ขึ้นอยู่รวมกับพันธุ์ไม้ที่ปลูกเพิ่มเติม พันธุ์ไม้

ที่เด่น ๆ ได้แก่ กันเกรา สะบ้า สนทะเล สะเดาเทียม กะบากมะกล่ำต้น ลำแพน ทุเรียนป่า เทพทาโร มะหาด 

ไผ่ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น แปลงที่ 2 มีเนื้อที่ 17-1-02 ไร่ สภาพพื้นที่จะมีจุดเด่น คือ ภูเขาหินปูน ซึ่งภายในมีถ้ำยาว

ประมาณ 40 เมตร ทะลุถึงกัน มีหินงอก หินย้อย รูปร่างแปลกตา รวมทั้งมีพันธุ์ไม้เดิมและปลูกเพิ่มเติม

เช่น จิกเขา ตะเคียนทอง มะปริง พะวา โสกน้ำ มะหาด เป็นต้น

     
  ลักษณะภูมิอากาศ
     

              เป็นแบบร้อนชื้น มีอากาศอบอุ่น ฝนตกตลอดปี แบ่งเป็น ๒ ฤดู คือ      

                      - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม

                      - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนมกราคม โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกันยายน 

                         เป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด

     
  พืชพรรณและสัตว์ป่า
     

              พรรณพืช 

                      พรรณไม้ที่ตามธรรมชาติในพื้นที่ ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดิบแล้งตามสภาพภูมิประเทศที่เป็นที่ราบ

และเชิงเขารวมกับพรรณไม้ที่นำมาปลูกเพิ่มเติม รวมถึงไผ่ชนิดต่างๆ โดยพรรณไม้ที่มีอยู่ในสวนรุกขชาติถ้ำเขานุ้ย

ประกอบด้วยพรรณไม้ในวงศ์ต่าง ๆ กว่า 50 วงศ์ (Family) 100 ชนิด (Species) เช่น วงศ์ Dipterocarpceae 

วงศ์ Euphorbiaceae วงศ์ Leguminosae วงศ์ Rubiaceae วงศ์ Moraceae วงศ์ Apocynaceae 

วงศ์ Meliaceae วงศ์ Casuarinaceae เป็นต้น พรรณไม้ที่เด่น ๆ ได้แก่ กันเกรา (Fagraea fragrans Roxb.) 

ตะเคียนทอง (Hopea odorata Roxb.)สะเดาเทียม (Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs) 

สนทะเล (Casuarina equisetifolia J.R. & G.Forst.) ประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus Willd.) เป็นต้น 

โดยสภาพป่าดั้งเดิมของสวนรุกขชาติถ้ำเขานุ้ยเป็นป่าดงดิบชื้น มีการกระจายของพันธุ์ไม้พอสมควร

พันธุ์ไม้เด่นเป็นไม้วงศ์หอม (Lauraceae) เช่น อบเชย เทพทาโร ทัง ทำมัง

ตะกู เป็นต้น

              สัตว์ป่า

                      สัตว์ป่าที่สำรวจพบภายในสวนรุกขชาติถ้ำเขานุ้ย ได้แก่ ค้างคาวผี (อาศัยอยู่ภายในถ้ำเขานุ้ย) 

อีเห็น ลิ่น อ้น หมูป่า กระจง หมีขอ ไก่ป่า นกเขียวใหญ่ นกเขียวคราม นกปรอทหัวดำ นกกางเขน นกแซงแซว 

นกเอี้ยงถ้ำ งูเหลือม งูจงอาง งูกะปะ งูเขียว เป็นต้น

     
  กิจกรรมที่ให้บริการ
     

              1. กิจกรรมการศึกษาหาความรู้ด้านชนิดพรรณไม้และด้านอื่นๆเกี่ยวกับป่าไม้และการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

้              จากในพื้นที่จริง จากป้ายสื่อความหมาย จากห้องสมุดของสวนรุกขชาติถ้ำเขานุ้ย

              2. กิจกรรมเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ

     
   สิ่งอำนวยความสะดวก
     

               ภายในสวนรุกขชาติถ้ำเขานุ้ยมีสิ่งอำนวยความสะดวก

ประกอบด้วย

               1. ห้องสมุด 1 ห้อง

               2. ศาลานั่งพักผ่อนหย่อนใจ(แบบชั่วคราว)  1 หลัง

               3. ห้องน้ำ 2 จุด รวม 3 ห้อง

               4. จุดนั่งพักผ่อนหย่อนใจ 5 จุด

               5. ทางเดินศึกษาธรรมชาติ

               6. ป้ายสื่อความหมาย



     
   การเดินทาง
     

              เดินทางโดยรถยนต์ จากอำเภอหาดใหญ่และสนามบินหาดใหญ่ ตามถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4

(ถนนเพชรเกษม) เข้าสู่ถนนยนตรการกำธรรวมระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตรเดินทางโดยรถยนต์จากจังหวัดพัทลุง

ตามถนนสายเอเชียถึงสี่แยกคูหาเข้าสู่ถนนยนตรการกำธรผ่านที่ว่าการอำเภอรัตภูมิระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอ

รัตภูมิ ประมาณ 21  กิโลเมตร

     
  สถานที่ติดต่อ
     

               สวนรุกขชาติถ้ำเขานุ้ย หมู่ที่ 10 ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา 90180 โทร. 081-3883905