เมนูหลัก
 
วิสัยทัศน์
ความเป็นมา
Ramsar site
ภารกิจ
พืชพรรณ
สัตว์ป่า
นกในทะเลน้อย
กิจกรรม
Brochure
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ข้อปฏิบัติ
การบริการ
ติดต่อเรา
 
 
พืชพรรณ

    ในบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย พืชพรรณมีความแตกต่างกันตามสภาพ ลักษณะภูมิประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

บริเวณป่าพรุ เป็นบริเวณที่มีน้ำท่วมขังอยู่ตลอดปี มีพันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ ต้นเสม็ด
ซึ่งเป็นแหล่งทำรังของนกน้ำขนาดใหญ่ เช่น นกกาบบัว และนกกระสาแดง
ส่วนบริเวณป่าพรุควนขี้เสียน และป่าพรุควนเคร็ง ซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นที่มีน้ำท่วมถึง
และเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างแท้จริง พบพืชพรรณส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก ได้แก่ กก
กระจูดหนู กระจูด แห้วทรงกระเทียม เสม็ดขาว เสม็ดชุน ผักกูด ลำเพ็ง ลิเภายุ่ง

บริเวณพื้นน้ำ หรือที่เรียกว่า ทะเลน้อย มีพืชน้ำนานชนิด ได้แก่ กง สาหร่ายต่างๆ
กระจูด ผักตบชวา บัวชนิดต่างๆ โดยเฉพาะบัวสายจะขึ้นเต็มพื้นน้ำ ได้ชื่อว่าเป็น
ทะเลบัวที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย

บริเวณป่าดิบชื้นอยู่บริเวณเชิงเขาและรอยต่อเทือกเขาบรรทัด พรรณไม้ที่พบ
ได้แก่ ตะเคียนทอง ประดู่ ทองหลางน้ำ ยางนา ต้นเนียน กะพ้อแดง เป็นต้น

บริเวณพื้นที่เกษตรกรรม เป็นแหล่งที่อยู่ของชุมชนมีการเพาะปลูก นาข้าว ไม้ผล ยางพารา และวัชพืชต่างๆ ซึ่งขึ้นกระจายทั่วไป

บริเวณทุ่งหญ้าประกอบด้วย ต้นกก ลำพู และหญ้าชนิดต่างๆ

กลับสู่หน้าหลัก

“โลกแห่งธรรมชาติ
เพื่อการเรียนรู้คุณค่า
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พื้นที่ชุ่มน้ำและส่งเสริม
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลน้อย”
 
 

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าทะเลน้อย ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 1 ตำบลทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 93150
โทรศัพท์ 074 - 685599 โทรสาร 074 - 685599

E – mail : talenoi_center@hotmail.co.th