บทนำ

              ผีเสื้อเป็นสัตว์ในไฟลัมอาโทร์โปดา (Phylum Arthoropoda ) เช่นเดียวกับแมลงทั่ว ๆ ไป เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่ยุคไทรแอสสิก (225 ล้านปี) มาแล้ว และจัดเป็นทรัพยากรสัตว์ป่า ซึ่งมีความหลากชนิดไม่ด้อยไปกว่าทรัพยากรธรรมชาติประเภทใดในป่า ผีเสื้อเป็นกลไกหนึ่งในระบบนิเวศมีหน้าที่หลักในการผสมเกสรจุดกำเนิดชีวิตแก่พรรณไม้ให้ได้เติบโตตามชีพลักษณ์ และสืบสายพันธุ์ต่อไป ผีเสื้อเป็นกลุ่มแมลง ที่มีมากประมาณ 10 % ของสัตว์ในโลก ปัจจุบันมีการศึกษาพบแล้วประมาณ 200,000 ชนิด ผีเสื้อเป็นแมลงที่มีสีสันสวยงามมีวิวัฒนาการร่วมกับพืชที่มีดอกมานานด้วยมีหน้าที่ช่วยผสมเกสรให้กับพืช ทำให้พันธุ์ไม้หลากหลายชนิดดำรงอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างป่าฮาลา - บาลา ซึ่งเป็นป่าที่น้อยคนจะเข้าไปศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแมลง โดย เฉพาะแมลงในกลุ่มผีเสื้อกลางวัน เนื่องจากเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยยากแก่การเข้าถึงและมีความหลากหลายของพันธุ์พืชสูง จึงน่าจะมีชนิดของผีเสื้อกลางวันที่หลากหลาย ดังนั้นรัฐควรที่จะให้มีการศึกษาทั้งทางด้านชีววิทยา และนิเวศวิทยาของผีเสื้อกลางวัน เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการค้นคว้าวิจัยอ้างอิงต่อไป

              โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า สวนป่าพระนามาภิไธย ภาคใต้ พื้นที่ส่วนที่ 2 จังหวัดยะลา-นราธิวาส (ป่าฮาลา-บาลา) ได้ดำเนินการศึกษาวงจรชีวิตและพืชอาหารผีเสื้อกลางวันในป่าฮาลา-บาลา ซึ่งเป็นการดำเนินการต่อยอดจากการศึกษาความหลากหลายของผีเสื้อกลางวันในป่าฮาลา-บาลา ในปี 2541– 2544 โดยเริ่มดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2551) เนื่องจากวงจรชีวิตผีเสื้อกลางวันเป็นแมลงที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดพืชอาหาร ทำให้มีปัจจัยที่จำกัดในการดำรงชีวิต และการขยายพันธุ์ของผีเสื้อกลางวัน การบุกรุก และเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าไม้ ย่อม ส่งผลกระทบในทางลบต่อระบบนิเวศ และการดำรงชีวิตของผีเสื้อกลางวัน ทำให้ปริมาณของผีเสื้อกลางวันลดลง และสูญพันธุ์ในที่สุด ดังนั้นในการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ผีเสื้อกลางวัน จึงจำเป็นต้องอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งพืชอาหารควบคู่กันไป การสำรวจ และศึกษาพืชอาหารรวมทั้งศึกษาวงจรชีวิตของผีเสื้อกลางวันนั้น จึงมีความสำคัญยิ่งและควรให้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลที่สำคัญยิ่ง อันนำไปสู่การวางแผน เพื่อหามาตรการและแนวทางในการอนุรักษ์ผีเสื้อกลางวัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศให้อยู่อย่างสมดุล และเอื้อประโยชน์แก่มนุษย์สืบไป

 สถานที่ดำเนินการสำรวจ

              พื้นที่โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า สวนป่าพระนามาภิไธย ภาคใต้ พื้นที่ส่วนที่ 2 ในเขตป่าบาลา บริเวณคลองอัยยาเด๊ะ ตำบลมาโมง และคลองธารทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ในเขตป่าฮาลา บริเวณคลองฮาลา ตำบลอัยเยอร์เวง คลองมูบอ ตำบลอัยเยอร์ควีน อำเภอเบตงคลองโต๊ะโม๊ะ และคลองฮาลาซะ ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา

แผนที่แสดงพื้นที่การสำรวจผีเสื้อกลางวันในป่าฮาลา - บาลา

 ผลการศึกษา

    จากการสำรวจเก็บข้อมูลชนิดพันธุ์ผีเสื้อกลางวันนั้น ได้ดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน(2550) เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อผีเสื้อกลางวันในป่าฮาลา-บาลา พบผีเสื้อกลางวันทั้งหมด 5 วงศ์ 22 วงศ์ย่อย 171 สกุล 407 ชนิด ซึ่งจำแนกจัดหมวดหมู่ตามหลักอนุกรมวิธานตามรายละเอียดดังนี้

เปิด

และ ผลการศึกษาวงจรชีวิต และพืชอาหารของผีเสื้อกลางวันในป่าฮาลา – บาลา ท้องที่จังหวัดยะลา และนราธิวาส สำรวจพบหนอน และดักแด้ผีเสื้อกลางวัน ทั้งหมดจำนวน 74 ชนิด สามารถจำแนกตามหลักอนุกรมวิธานได้ทั้งหมดจำนวน 5 วงศ์ 47 สกุล 74 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีรายละเอียดของวงจรชีวิตและพืชอาหารของผีเสื้อกลางวันดังนี้ (เปิดดูในเมนู วงจรชีวิต และ พืชอาหาร)

********************************

 

© สงวนลิขสิทธิ์ โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ท ี่6

ส่วนโครงการพระราชดำริและความมั่นคง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

นายโกวิทย์ หวังทวีทรัพย์ นักวิชากาป่ไม้ 6 ว  ผู้จัดทำเวบไซด์

ปรับปรุงวันที่ 21 กรกฎาคม 2551