เนื้อหา

สถานะการพื้นที่ป่าไม้ใจจังหวัดสงขลา

 1. สถานการณ์ทั่วไป 

              พื้นที่ป่าไม้ จังหวัดสงขลามีเนื้อที่ป่าทั้งสิ้นประมาณ 1,256,669 ไร่ ทางราชการได้ประกาศเป็นเขตพื้นที่ป่าเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ 1 แห่ง ( อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง )พื้นที่เตรียมการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ 1 แห่ง ( อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 2 แห่ง( เขตรักษาพันธุ์ป่าโตนงาช้าง,เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด บางส่วน) เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 5 แห่ง และป่าสงวนแห่งชาติ 41 ป่า พื้นที่ป่าส่วนนี้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า เป็นแหล่งไม้สอย เป็นแหล่งอาหาร ยารักษาโรค เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นพื้นที่ทำกิน ฯลฯ ปัจจุบันพื้นที่ป่าได้ถูกบุกรุกทำลายป่าให้ป่าธรรมชาติลดน้อยลงจากเดิมเป็นจำนวนมาก พื้นที่ป่าที่ล่อแหลมต่อการบุกรุกทำลายในท้องที่จังหวัดสงขลา ท้องที่อำเภอรัตภูมิ ได้แก่ บริเวณพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด,ป่าสงวนแห่งชาติป่าควนทับช้าง และป่าสงวนแห่งชาติแม่พรุฯ ท้องที่อำเภอหาดใหญ่ได้แก่บริเวณเขตรักษาพันธุ์ป่าโตนงาช้าง ท้องที่อำเภอคลองหอยโข่ง ได้แก่ บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าวังพา ท้องที่อำเภอสะเดา ได้แก่ บริเวณป่า สงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาแก้ว ป่าสงวนแห่งชาติเขาโพธิ์ ควนแดน เขารังเกียรติ, อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง ท้องที่อำเภอนาทวี ได้แก่ บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาแดน เขาเสม็ด ควนเสม็ดชุน และควนเหรง ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าควนพน ป่าสงวนแห่งชาติหินเภา อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง ท้องที่อำเภอสะบ้าย้อย ได้แก่ บริเวณป่าแห่งชาติป่าเขาแดน เขาเสม็ด ควนเสม็ดชุน และควนเหรง ป่าสงวนแห่งชาติป่าควนพน ป่าสงวนแห่งชาติควนราสอ ฯ ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาโต๊ะเทพฯ ป่าสงวนแห่งชาติป่าสันกาลาคีรี และพื้นที่เตรียมการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี ท้องที่อำเภอเทพา ได้แก่ บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเขารังเกียจ เขาสัก เขาสูง ป่าควนหินเภา ท้องที่ อำเภอจะนะ ได้แก่ บริเวณป่าสงวนแห่งชาติเขาเหลียม เขาจันดี เขาบ่อท่อฯ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาเหรงฯ 
      
                ลักษณะการบุกรุก ตัดไม้ทำลายป่า จากการตรวจปราบปรามฯ พบว่าการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า เป็นการกระทำของราษฎรในพื้นที่ เพื่อเป็นที่ทำกิน การกระทำมีลักษณะดังนี้ 

1. การโค่นล้มไม้ป่าธรรมชาติ จะเข้าทำการล้มไม้ในช่วงฤดูแล้งและปล่อยทิ้งไว้รอให้แห้ง และเข้าทำการเผาไม้ที่โค่นล้มไว้ หลังจากนั้นจึงเข้าทำการปลูกพืชอาสิน ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ยางพารา โดยใช้ต้นกล้าเป็นต้นตาเขียวซึ่งราคาถูกและสะดวกในการขนย้ายปลูกทิ้งไว้ และจะเข้าไปให้ปุ๋ยเป็นระยะ หรือรอให้ต้นยางพารามีขนาดความสูงประมาณ 50 – 100 cm ขึ้นไปหรือมีอายุประมาณ1 – 2 ปีจึงทำการบำรุงรักษา มีการสร้างที่พักแบบ ชั่วคราวหรือถาวรอย่างเปิดเผย เหตุเกิดในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า และพื้นที่ป่าไม้ทั่วไป 

2. การโค่นล้มป่าที่มีไม้ยางพาราพื้นบ้านปลูกแทรกพื้นที่ป่า ซึ่งลักษณะการปลูกไม้ยางพาราเป็นการโดยเมล็ดปลูกเพื่อแสดงเป็นพื้นที่ครอบครองเอาไว้ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง การทำประโยชน์ในพื้นที่มีร่องรอยเล็กน้อย สภาพพื้นที่ป่าจะมีไม้ป่าขนาดใหญ่ และป่าขนาดเล็กปะปนกับไม้ยางพารากระจายทั่วพื้นที่ การบุกรุกจะอ้างการทำประโยชน์ในพื้นที่ และขายต้นไม้ยางพาราพร้อมกับไถดันพื้นที่ป่าซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนมาก พร้อมทำการปลูกอาสินขึ้นใหม่ และจะอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เต็มรูปแบบ 

3. การบุกรุกพื้นที่ป่าโดยการยึดถือครอบครองและโค่นล้มไม้ภายหลัง ลักษณะการกระทำการพื้นที่ป่าเป็นร่องซุยและทำการปลูกพืชเอาสิน ได้แก่ ลองก็อง มังคุด สะตอ สละ ยางพารา ฯลฯ เป็นแนว และเมื่อพืชอาสินโตขึ้นจะทำการตัดขยายแนวร่องซุยโดยการตัดไม้เล็กและกานต้นไม้ขนาดใหญ่ให้ยืนต้นตาย และจะทำเช่นนี้จนหมดสภาพ

4. การบุกรุกยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่อง ลักษณะการกระทำเป็นการตัดโค่นล้มต้นไม้ที่เป็นพืชอาสินในพื้นที่ที่ได้บุกรุกมาเมื่อคราวครั้ง และเมื่ออาสินไม่สามารถให้ผลผลิตที่คุ้มทุน จึงทำการตัดโค่นเพื่อ ปลูกทดแทนขึ้นใหม่ในพื้นที่ป่าแห่งนั้นต่อไป 

                สาเหตุของการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า การบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าจากอดีตถึงปัจจุบัน มีสาเหตุสำคัญที่พอสรุปได้ดังนี้ 

1. การเพิ่มขึ้นของประชากรและความต้องการปัจจัยสี่ 
2. การสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน 
3.ความต้องการกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 
4. การดำเนินการทางกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่เด็ดขาด 
5. ขาดความรู้และเข้าใจ ในการใช้ประโยชน์และอยู่ร่วมกับทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน 
6. นโยบายป่าไม้ของรัฐบาล 
7. แนวทางการปฏิบัติงานหน่วยงานส่วนราชการ ไม่สอดคล้องเป็นไปแนวทางเดียวกันจากกระบวนการและสาเหตุดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้สถานการณ์การบุกรุกทำลายป่าในพื้นที่จังหวัดสงขลามีความรุนแรงยิ่งขึ้น 

2. มาตรการและแนวทางการปฏิบัติ

             การป้องกันการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า จะเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องได้รับ การร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันดำเนินการปลูกจิตสำนึกของประชาชนให้มีความรักและหวงแหนในทรัพยากรป่าไม้ และให้อยู่ร่วมกันได้โดยยั่งยืน สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 20 จึงมีมาตรการและแนวทางปฏิบัติ ดังนี้   
           
                1. มาตรการด้านการป้องกัน 
                                1.1 ทำการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ การจัดฝึกอบรมให้แก่เยาวชน  นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ เกิดความรักและหวงแหนและเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันรักษาป่า 
                                1.2 จัดตั้งตู้ ไปรษณีย์รับแจ้งเรื่องราวเกี่ยวกับการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า 
                                1.3 เร่งจัดทำแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ให้ชัดเจนและให้ประชาชนรับทราบแนวเขตพื้นที่ป่า 
                                1.4 ร่วมมือกับองค์การปกครองท้องถิ่นเข้ามาร่วมดูแลป้องกันทรัพยกรป่าไม้ 
                                1.5 พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามนโยบาย และแนวทางที่รัฐบาลดำเนิน ให้ตรงกับข้อเท็จจริงกับปัจจุบัน 
                               1.6 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแนวทางปฏิบัติงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน 

                2. มาตรการด้านการปราบปราม 
                               2.1 จัดตั้งชุดสายตรวจปราบปรามฯ ประจำเดือนสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 20 ออกตรวจ 
ปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายป่าไม้ในท้องที่ที่รับผิดชอบ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 
                               2.2 จัดตั้งหน่วยป้องกันรักษาป่า ปฏิยบัติงานตรวจปราบปรามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในพื้นที่รับผิดชอบ 
                               2.3 ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ตำรวจ และทหาร ออกตรวจปราบปรามตามกฎหมายป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบ 
                               2.4 สนับสนุนการตรวจปราบปรามในพื้นที่ โดยการบินสำรวจพื้นที่ป่าโดยใช้อากาศยานตลอดทั้งปี 
                               2.5 สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ร่วมตรวจปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ในพื้นที่ที่ล่อแหลม ต่อการบุกรุก 
                               2.6 สืบหาข่าวการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นกลุ่มบุคคล นายทุน ผู้มีอิทธิพล 

3. มาตรการด้านการติดตามผล 
3.1 ออกตรวจเยี่ยมติดตามผลการปฏิบัติงาน ของหน่วยงาน ของหน่วยงาน 
3.2 ประสานงานติดตามการดำเนินคดีเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้อย่างต่อเนื่อง 
3.3 จัดให้มีการร่วมปลูกป่าโดยวิธีประชาอาสา ในพื้นที่ที่การดำเนินคดีถึงที่สุด หรือพื้นที่มีการรื้อถอนตามกฎหมาย
3.4 จัดรางวัลให้กับหน่วยงานที่ปฏิบัติดีเด่น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน และเป็นตัวอย่างแก่หน่วยงานอื่นๆ 
3.5 จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าในภาพรวม เพื่อใช้ข้อมูลฐานในการวางแผนการปฏิบัติงานต่อไป 
3.6 จัดอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน และทันสมัยอยู่เสมอ    


big12

ภารกิจ

     1. กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และแผนดำเนินการสงวน คุ้มครอง และอนุรักษ์สัตว์ป่า
     2. กำหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐาน รูปแบบ เทคนิค วีธีการ และตัวชี้วัด การจัดการพื้นที่และการอนุรักษ์สัตว์ป่ารวมทั้งกำหนดแนวทางการส่งเสริมการบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี การเพาะเลี้ยงและการอนุรักษ์สัตว์ป่า
     3. ควบคุม กำกับ บริการจัดการและติดตามการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า รวมทั้งประสานการดำเนิน งานตามอนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง
     4. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลอง และพัฒนาวิชาการด้านสัตว์ป่า
     5. กำหนดแนวทาง มาตรการและดำเนินการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาสัตว์ป่าและดูแลสุขภาพสัตว์ป่า
     6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย