สถานีวิจัยต้นน้ำทะเลสาบสงขลา (สังกัดส่วนกลาง)

 


 

ประวัติความเป็นมา

 

      เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า น้ำมีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีพของพลเมือง

และต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม ประกอบกับอัตราการเพิ่มของ

ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การอุปโภคบริโภคน้ำของประชาชนในกิจการงานด้าน

ต่างๆ เริ่มมีปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฝนแล้ง(เฉพาะภาคใต้) นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น

ในทางกลับกันในช่วงฤดูฝน ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบตอนล่างของลุ่มน้ำต่างๆ

ในหลายลุ่มน้ำของภาคใต้ก็ประสบกับปัญหาน้ำท่วมถี่ขึ้น สร้างความเดือดร้อน ความเสียหาย

ต่อประชาชนและเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เช่น อุทกภัยที่เกิดที่อำเภอกระทูน

จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น

      กรมป่าไม้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วม

การขาดแคลนน้ำ อันเนื่องมาจากการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็น

ต้นน้ำ ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อกรมป่าไม้ได้รับงบประมาณประจำปี 2533 – 2534

ในโครงการฟื้นฟูพื้นที่ภาคใต้ที่ประสบวาตภัยและอุทกภัย(เมื่อครั้งเกิดอุทกภัยที่ อำเภอกระทูน)

จึงได้จัดสรรเงินงบประมาณส่วนหนึ่งในการจัดตั้งสถานีวิจัยลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา(ปัจจุบัน

เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีวิจัยต้นน้ำทะเลสาบสงขลา เมื่อ พ.ศ. 2549) ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการ

ศึกษาวิจัยลุ่มน้ำโดยเฉพาะต้นน้ำทะเลสาบสงขลา อันจะนำมาซึ่งข้อเสนอแนะ แนวทางการ

แก้ปัญหาหลักข้างต้น รวมทั้งเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบสภาพปัญหาและการป้องกัน

      ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2533  กรมป่าไม้ โดย นายธงชัย   เวชชสัสถ์ นักวิชาการ

ป่าไม้ 6  ได้ทำการสำรวจหาพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การจัดตั้งสถานีฯ  ในเบื้องต้น อยู่ที่หมู่ที่ 7

ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง

แต่เนื่องจากปัญหาท้องที่บางประการ การจัดตั้งสถานีฯ มิอาจดำเนินการไปได้แล้วเสร็จ

      ในปีงบประมาณ พ.ศ 2534 – 2535   นายสุวัฒน์   จันธิวงค์ ทำหน้าที่หัวหน้า

สถานีฯ ได้ปรึกษากับฝ่ายวิจัย กองอนุรักษ์ต้นน้ำ ถึงสภาพปัญหาเกี่ยวกับท้องที่และ

ความเหมาะสมของพื้นที่  ฝ่ายวิจัย กองอนุรักษ์ต้นน้ำ เสนอแนะว่า เนื่องจากมีปัญหา

ท้องที่  จึงเห็นว่าถ้าสามารถจัดหาพื้นที่ ที่เหมาะสมกว่าก็เห็นควรให้ย้ายที่ตั้งสถานีฯ

ดังนั้น จึงได้มีการสำรวจพื้นที่ตั้งสถานีฯ ใหม่ และได้ที่ตั้งที่เหมาะสมกว่า ซึ่งเป็นที่ตั้ง

ของสถานีฯ  จนถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่บริเวณต้นน้ำลุ่มน้ำย่อยคลองต่ำ ลุ่มน้ำสาขาคลอง

อู่ตะเภา ลุ่มน้ำหลักทะเลสาบสงขลา  บ้านคลองทุ่ง หมู่บ้านวังพา หมู่ที่ 9 ตำบล

ทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง และ

ป่าสงวนแห่งชาติเขาวังพา  ที่ลงความเห็นว่า ลุ่มน้ำคลองต่ำเหมาะสมแก่การปฏิบัติ

งานการศึกษาวิจัยลุ่มน้ำเนื่องจาก

1. เป็นต้นน้ำของคลองต่ำ คลองอู่ตะเภา ซึ่งไหลมาจากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัด

    สงขลา เป็นส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

2. ขนาดของลุ่มน้ำทดลองพื้นที่ประมาณ 9.29 ตารางกิโลเมตร ซึ่งอยู่ในขั้นที่

    สามารถปฏิบัติงานศึกษาวิจัยได้

3. ลำห้วยส่วนมากมีน้ำไหลตลอดปี

4. ป่าเป็นป่าดิบชื้น (Tropical Rain Forests) ปกคลุมอยู่โดยตลอดเกือบทั้ง

    ลุ่มน้ำ

5. การคมนาคมในการปฏิบัติงาน สามารถเดินทางถึงสถานีได้สะดวก


      สถานีฯ ได้เริ่มดำเนินการสร้างสิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จ ในช่วงต้นปีงบประมาณ 2536

การปฏิบัติงานวิจัยจึงสามารถเริ่มดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ


      ต่อมา ได้มีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2547 ใหม่ จึงโอนมาสังกัด ส่วนวิจัยต้นน้ำ

สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  จนถึงปัจจุบัน

 

 

ที่ตั้งหน่วยงาน

 

      ตั้งอยู่ที่พิกัด ระบบ  UTM datum WGS 84 Zone 47 N  0636424 E 0762531 N

ท้องที่ หมู่ที่ ตำบลทุ่งตำเสา  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

 

 

อาณาเขตพื้นที่รับผิดชอบ

      อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอหาดใหญ่ ประมาณ 30 กิโลเมตร ทิศเหนือและทิศใต้ติดต่อ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง ทิศตะวันออกติดต่อบ้านคลองทุ่ง ป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขา

วังพา ทิศตะวันตกติดต่อจังหวัดสตูล

 arearesearch station