หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำคลองอู่ตะเภา (สังกัดส่วนกลาง)

 

ประวัติความเป็นมา

      เนื่องจากสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรวมของพื้นที่สูง ในเขตป่า

ต้นน้ำลำธารเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับด้านป่าไม้นั้น  ข้อเท็จจริงมีทั้งป่าธรรมชาติที่ยังคง

ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณต่าง ๆ ที่คอยปกป้องคุ้มครองดิน และเอื้อประโยชน์

ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อมนุษย์  ในทางตรงกันข้ามนั้นยังมีอีกหลายๆ พื้นที่ในแหล่ง

ต้นน้ำลำธารได้มีการบุกรุกทำลาย พืชพรรณต่างๆ ให้ได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจเป็น

ผลมาจากความต้องการพื้นที่เพื่อใช้ในการดำรงชีพตามวิถีชีวิต ด้านต่างๆ เช่น ด้านการ

เกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ การจัดทำแหล่งท่องเที่ยว การเลือกถิ่นที่อยู่อาศัยหรือแหล่ง

ทำกินซึ่งมีทั้งที่มีความเหมาะสมและที่ไม่เหมาะสม  อาจจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

หรือตามกระแสสังคมก็ตามซึ่งล้วนนำมาซึ่งความเสียหายต่อสภาพป่าต้นน้ำลำธาร

ทั้งสิ้น ส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงเป็นจำนวนมาก เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินสูง

เนื่องจากไม่มีสิ่งปกคลุมหน้าดินที่เพียงพอ เกิดตะกอนดินไหลลงไปทับถมยังแหล่งน้ำ

ตอนล่าง ทำให้เกิดการตื้นเขิน มีสารพิษตกค้างในดิน และในแหล่งน้ำจำนวนมาก

สภาพเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงทราบและ

ตระหนักด้วยความห่วงใยต่อทั้งพสกนิกร ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยรวม

ทรงเล็งเห็นถึงสภาพปัญหาการใช้ที่ดินที่ไม่ถูกต้องกับชั้นสมรรถนะ ส่งผลให้หน้าดินถูก

กัดเซาะและชะล้างจากฝนที่ตกลงมา เป็นเหตุให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงและ

บางครั้งเกิดปัญหาดินพังทลาย ซึ่งเป็นผลเสียต่อพื้นที่ทำการเกษตร และต่อทรัพยากร

ดินและน้ำเป็นอย่างมาก จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานแนวพระราชดำริให้

ทดลองใช้หญ้าแฝก ปลูกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพราะเป็นวิธีการที่ง่าย เกษตรกร

สามารถดำเนินการเองได้ และยังไม่ต้องการการดูแลหลังการปลูกมากนัก จึงประหยัด

ค่าใช้จ่ายมากกว่าวิธีการอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลทำให้มนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติได้เกื้อกูล

ซึ่งกันและกันอย่างยั่งยืน และมีความสุขอย่างพอเพียงและสมดุล ด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้

ในปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา กรมป่าไม้ ต่อเนื่อมาถึง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า

และพันธุ์พืช จึงได้จัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานสนามในสังกัด สำนักอนุรักษ์และ

จัดการต้นน้ำ  ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศ ได้นำหญ้าแฝกไปพิจารณาดำเนินกา

รในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อสนองแนวพระราชดำริ ในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ครบ 60 ปี ในปีพุทธศักราช 2549 และจะทรงเจริญ

พระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2550 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จึงได้จัดทำโครงการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติฯ ระหว่าง ปี 2548 - 2550

ขึ้นเพื่อรณรงค์ส่งเสริมและขยายผลให้ประชาชนปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ทั่วประเทศ

เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ นำหญ้าแฝกไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมกว้างขวาง

และต่อเนื่อง โดยการประชาสัมพันธ์และเชิญชวนคนไทยทั้งประเทศเข้าร่วม

โครงการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติฯ ภายใต้การสนับสนุนของ 11 หน่วยงาน

ประกอบด้วย  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม 

กระทรวงการพัฒนา  สังคมและความมั่นคงของมนุษย์  กระทรวงคมนาคม  กระทรวง

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงพลังงาน  กระทรวงมหาดไทย  กระทรวง

ศึกษาธิการ  กรุงเทพมหานคร และกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน  ซึ่งได้เห็น

ชอบร่วมกันในการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและจัดทำบันทึกข้อตกลงนี้ขึ้นเพื่อเป็น

กรอบแห่งความร่วมมือในการดำเนินงาน โครงการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติฯ

โดยมีเป้าหมายที่จะปลูกหญ้าแฝกจำนวนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านกล้าและดูแลรักษาอย่าง

ต่อเนื่องจนเกิดผลสำเร็จในการใช้หญ้าแฝก ปรับปรุง และรักษาหน้าดิน จำนวนไม่ต่ำ

กว่า 800,000 จุด ทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2548 สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ได้น้อมนำแนวพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้า

แฝกมากำหนดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการใช้หญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ

ในพื้นที่ป่าไม้  ได้จัดตั้งศูนย์สาธิตการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกด้านป่าไม้ 5

ศูนย์ และในปี พ.ศ. 2553 จัดตั้งเพิ่มเติมอีก 1 ศูนย์ สำหรับใช้เป็นสถานที่

รวบรวมกิจกรรมเกี่ยวกับหญ้าแฝกเพื่อการศึกษาดูงานแบบครบวงจร เพื่อประโยชน์ใน

การศึกษาของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้นำชุมชน เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชน

ทั่วไป  โดยดำเนินการในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่  สุโขทัย  สุรินทร์  กาญจนบุรี  สงขลา

และขอนแก่น เพื่อเป็นตัวแทนของภาคต่าง ๆ  


 

ที่ตั้งหน่วยงาน

 

      ตั้งอยู่ที่พิกัด ระบบ  UTM datum WGS 84  Zone 47 N   640719 E  749648 N 

หมู่ที่ 6 บ้านควนดินเหนียว  ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 

  

 

อาณาเขตพื้นที่รับผิดชอบ

 

      มีขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบ 18 ไร่  41 ตารางวา ริมทางหลวงชนบทสายคลองแงะ

-บาโรย  อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ที่ตั้งศูนย์อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเทือก

เขาแก้ว  ลักษณะเป็นเนินเขา ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย

 
areavetiver grass