เมนูหลัก
 
วิสัยทัศน์
ความเป็นมา
 Ramsar site
ภารกิจ
พืชพรรณ
สัตว์ป่า
นกในทะเลน้อย
กิจกรรม
Brochure
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ข้อปฏิบัติ
การบริการ
ติดต่อเรา
 
 
ตำนานทะเลน้อย

   ขุนวิจารณ์จรรยา อดีตศึกษาธิการจังหวัดพัทลุง เคยเล่าให้ฟังว่า เดิมทะเลน้อย
เป็นที่ลุ่ม มีไม้ตะเคียนขึ้นอยู่หนาแน่น ต่อมาเกิดไฟไหม้ป่าเป็นบริเวณกว้างขวาง
สันนิษฐานว่าเมื่อประมาณ 400 ปีมาแล้ว ยังมีตอไม้ตะเคียนขนาดใหญ่เหลืออยู่เป็น
จำนวนมาก นานปีเข้าถูกโคลนตมทับถมขุดลึกไปจากผิวน้ำประมาณ 2 เมตรก็จะพบ
ตอไม้เหล่านี้เหลืออยู่ในทะเลน้อยอีกเป็นจำนวนมาก สายน้ำจากคลองตลิ่งชัน
คลองป่าพะยอม ไหลมาลงที่ลุ่มแห่งนี้ กลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่เรียกชื่อแอ่งน้ำนี้ว่า
"ทะเลน้อย"
         นายสุข ทองพูลเอียด อดีตกำนันตำบลพนางตุงเขียนในหนังสือประวัติ
วัดทะเลน้อย ล่าวถึงคำบอกเล่าของขุนทิพย์โอสถหรือขุนพลโยธา นายกองที่คุมพล
ไปรบไทรบุรี ที่สอดคล้องกันว่าคนเฒ่าคนแก่ก่อนๆ นั้นเล่าว่าสมัยหนึ่งเมื่อประมาณ
700 ปีมาแล้ว พระเจ้ากรุงสุโขทัยแผ่อำนาจลงมาทางปักษ์ใต้ และต่อมาเรียกว่า
"ภาคใต้" ได้เกณฑ์ให้เจ้าเมืองเกณฑ์ราษฎรตัดฟันต้นไม้มา
    ต่อเรือรบเพื่อลำเลียงพลไปตีหัวเมืองมลายูทางใต้ การตัดไม้มาต่อเรือในครั้งนั้น
ได้มาตัดไม้ตะเคียนในป่าที่เป็นทะเลน้อยเดี๋ยวนี้ส่วนเจ้าเมืองที่เกณฑ์ราษฎรมานั้น
จะเป็นเจ้าเมืองพัทลุง หรือเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชไม่ปรากฏชัดเจน ครั้นต่อมา
1-2 ปีหลังจากทางการได้เกณฑ์ให้ราษฎรตัดไม้ตะเคียนต่อเรือในครั้งนั้นเอง
ฝนเกิดแล้งเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันแม้ถึงฤดูฝนฝนตกน้อย แต่เมื่อพ้นฤดูฝนแล้ว
มันแล้งเอาจริงๆเป็นเวลาหลายเดือนเป็นอยู่อย่างนี้ทั้ง 3 ปีติดต่อกันจึงเกิดไฟไหม้
ป่าขึ้น เฉพาะป่าที่เป็นป่าขึ้น เฉพาะป่าที่เป็นทะเลน้อยนี้ไฟไหม้อย่างแรงเพราะ
ปลายไม้ตะเคียนที่ตัดทิ้งที่ตัดทิ้งเอาไว้เป็นเชื้อไฟอย่างดี ตามว่าไฟได้ไหม้ลึกลงสู่
พื้นดินบางแห่ง ตั้งเมตรครึ่งก็มี กว้าง ยาว เป็นเนื้อที่หลายพันไร่พอฝนตกน้ำขัง
ในที่แห่งนี้ ก็กลายเป็นบึงกว้างใหญ่ ต่อมาในบึงก็เป็นที่อยู่อาศัยของฝูงจระเข้ ช้างป่า
กระบือฝูงเหยียบย่ำผัด*มัน นานวันเข้าที่แห่งนี้จึงค่อยๆ ลึกลงไปและกว้างออกไปทุกที
เมื่อเป็นคลื่น คลื่นก็เซาะตลิ่งออกไปบ้างจนทุกวันนี้ (พ.ศ. 2498)ทะเลน้อยยังกว้าง
ออกไปอีกตลอดเวลา เมื่อข้าพเจ้ายังหนุ่มๆ เคยเที่ยวไปในทะเลน้อยและทะเลสาบ
ได้พบเห็นตอไม้ตะเคียนและขอนไม้อื่นๆ เช่น ของไม้ตำเสามีอยู่เกือบทั่วไป
ในทะเลน้อยและริมทะเลสาบนี้ แสดงให้เห็นว่า เคยเป็นป่าดงไม้ตะเคียน
และไม้อื่นมาก่อน 


 

 

กลับสู่หน้าหลัก

“โลกแห่งธรรมชาติ
เพื่อการเรียนรู้คุณค่า
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พื้นที่ชุ่มน้ำและส่งเสริม
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลน้อย”
 
 

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าทะเลน้อย ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 1 ตำบลทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 93150
โทรศัพท์ 074 - 685599 โทรสาร 074 - 685599

E – mail : talenoi_center@hotmail.co.th